1. หนอนชอนใบ ลักษณะอาการ จะทำความเสียหายให้กับมะนาวในระยะแตก ใบอ่อน โดยจะชอนไชกัดกินอยู่ระหว่างผิวใบด้านหน้าและหลังใบ จะมอง เห็นเป็นทางสีขาวคดเคี้ยวไปมา ใบหงิกงอ ขอบใบม้วนเข้าหาเส้นกลางใบ และใบไม่เจริญเติบโต ต้นมะนาวจะแคระแกร็นและไม่ติตผล การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจดูตามใบและยอดของมะนาว โดยเฉพาะระยะที่มะนาวเริ่มผลิใบอ่อน กรณีที่ระบาดน้อยให้เด็ดใบเผาทำลาย หากพบมากใหัฉีดพ่น สารเคมีกำจัดแมลง กลุ่มคาร์บาริล มาลาไธออน หรือฟอร์โมไธออน ในอัตราที่ฉลากกำหนด
2. หนอนกินใบ (หนอนแก้ว) ลักษณะอาการ กัดกินใบอ่อนและยอดอ่อนของมะนาว การป้องกันกำจัด หมั่นตรวจตูตามใบอ่อนและยอดอ่อน เมื่อพบไข่และตัวหนอนก็จับทำลายเสีย ฉีดพ่นสารเคมีกำจัตแมลงกลุ่มเมทามิโดฟอสที่มีชื่อทางการค้าว่า ทามารอน ในอัตรา 20-30 ซีซี. หรือประมาณ 2-3 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วต้น
3. เพลื้ยไฟ ลักษณะอาการ จะดูดกินน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อน ใบอ่อน และผลการทำลายจะรุนแรงในระยะผลอ่อน นับแต่เริ่มติดผล ช่วงระยะการระบาด จะขี้นอยู่กับการแตกยอดอ่อน และระยะติดผล ผลที่ถูกทำลายจะ ปรากฎรอยสีเทา เป็นวงบริเวณขั้วผล และก้นผลหรือเป็นขีดสีเทาตาม ความยาวของผล การป้องกันกำจัด เด็ดผลที่แคระแกร็น ถ้าพบการทำลายของเพลี้ย ให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีกำจัดแมลง ได้แก่ คาร์โบชัลแฟน เปอร์เมทริน
4. ไรแดง ลักษณะอาการ ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลหงิกงอ ไม่เจริญเติบโตและร่วงหล่น ผลมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงิน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ในเวลาต่อมา ผิวผลจะกร้าน ผลแคระแกร็น และร่วงในที่สุด การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยกำมะถันผงชนิดละลายน้ำในอัตรา 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 10-15 วัน ในตอนเช้า หรือตอนเย็น เพื่อป้องกันอาการใบไหม้
หรือ สูตรตามวิถีชาวสวนมะนาวเพชรบุรี
น้ำส้มสายชูหมัก 1 ส่วน เหล้าขาว (หรือเอทานอลที่เขาใช้แล้วราคาถูก) 2 ส่วน กากน้ำตาล 0.25 ส่วน รวมกันหมักกับจุลินทรีย์เหง้ากล้วย (หรืออีเอ็มก็ได้) หมัก 24 ชั่วโมงก็ใช้ได้แล้ว ผสมน้ำ 1: 500 ( 40 ม.ล.ต่อน้ำ 20 ลิตร ) ฉีดพ่นทุก 3 วัน ติดต่อกัน 3 ครั้ง ต่อไปทุก 5-7 วัน/ครั้ง เท่านี้ก็แก้ได้ทุกอาการที่กล่าวมา ไม่ต้องใช้สารเคมีสังเคราะห์ให้เป็นอันตรายต่อคนและพืชด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น